Myths of Strategy: หนังสือท้าทายตำรากลยุทธ์
"Strategy bestsellers are disappointing" (หนังสือกลยุทธ์ขายดีมันน่าผิดหวัง aka ห่วย)
ข้อความนี้คือคำโปรยใน Introduction ของหนังสือเล่มนี้ครับ
โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้รวม "Myth" หรือความเชื่อต่างๆ ที่คนมักจะเข้าใจผิดกัน
💣 MYTH 2: Strategy is very different from the sciences
หลายคนคิดว่ากลยุทธ์คือศิลปะและเซ้นส์ของผู้นำ — Barthélemy ไม่เถียง แต่ชวนเราคิดว่า "แล้วทำไมไม่ทดสอบแผนก่อนลงเงิน?"
เขาเปรียบกลยุทธ์เหมือนการตั้งสมมติฐานและทดลองแบบนักวิทยาศาสตร์ (เช่น Starbucks ตอนเริ่มต้น)
Insight: กลยุทธ์ที่ไม่ผ่านการทดสอบ = เดาสุ่ม
🧠 MYTH 4: Success is essentially about talent
บริษัทส่วนใหญ่บ้าการล่าดาว (talent war) แต่ลืมไปว่า ระบบที่ดี สำคัญกว่า คนเก่ง ที่โดดเดี่ยว
Barthélemy ยกตัวอย่างว่าแม้จะมี "พรสวรรค์ระดับเทพ" แต่ถ้าระบบไม่ซัพพอร์ต ผลลัพธ์ก็ยังล้ม
Insight: ความสำเร็จไม่ใช่เรื่องของ "ใคร" อย่างเดียว แต่คือ "ระบบและกระบวนการ" ด้วย
🥇 MYTH 9: The best strategy is to beat competitors
บริษัทที่พยายาม "ชนะ" คู่แข่ง มักมองข้ามว่า… ลูกค้าไม่แคร์ว่าใครชนะ
Barthélemy เสนอว่ากลยุทธ์ที่ดีไม่ใช่ "ดีกว่าเขา" แต่ต้อง "แตกต่างแบบที่ลูกค้าแคร์"
Insight: การแข่งขันเป็นเรื่องรอง — ความหมายเป็นเรื่องหลัก
🔗 MYTH 22: Always Listen to Customers
อันนี้ไม่สปอย 😛
🧾 MYTH 35: Consultants always help improve performance
ข้อสุดท้ายที่โหดที่สุด — "ที่ปรึกษา" ช่วยเพิ่มผลการดำเนินงานได้ ซึ่งถ้าดูรายละเอียดจะเจอว่า ที่ปรึกษา อาจเหมาะกับองค์บางประเภทเท่านั้น และไม่ค่อยมีประโยชน์ถ้าต้องไปทำงานให้องค์กรที่เป็นผู้นำ หรือ Best Practice อยู่แล้ว
โดยส่วนตัวผมเคยโปรเจ็คด้านกลยุทธ์ให้ Market Leader ที่มี Market Share สูงสุดในตลาดประเทศไทย 3-4 เจ้า ก็ต้องบอกตรงๆว่ายากมาก ต้องหาเคสตัวอย่างจากต่างประเทศ หรืออุตสาหกรรมอื่นมาเขียนแผน
ตัวอย่างเพิ่มเติม: กลยุทธ์แบบวิทยาศาสตร์
ในบทที่ 2 ของ Myths of Strategy โดย Jérôme Barthélemy เขาชวนเรา "เลิกโรแมนติกกับกลยุทธ์" แล้วมองมันใหม่เหมือนการทำวิจัย
🧠 กลยุทธ์ไม่ใช่แค่ศิลปะ — มันคือ "การทดลองซ้ำ" แบบวิทยาศาสตร์ (ดู Starbucks เป็นตัวอย่าง)
ลองถามตัวเองแบบตรงๆ
ถ้ากลยุทธ์คือศิลปะ แล้วทำไมแผนที่ดูสวยในสไลด์ กลับล้มเหลวในโลกจริง?
❌ ความเชื่อที่ต้องล้ม:
"Strategy is different from science."
Barthélemy อ้างถึงงานของ Richard Rumelt — หนึ่งในบิดาแห่งทฤษฎีกลยุทธ์ยุคใหม่ ที่เปรียบเทียบการวางกลยุทธ์กับการทำงานของนักวิจัย:
"นักวิจัยไม่มีทางค้นพบอะไรใหม่ ถ้าไม่กล้าออกนอกกรอบ เช่นกัน ผู้จัดการไม่มีวันค้นพบโอกาสใหม่ ถ้าเอาแต่ copy กลยุทธ์ของคู่แข่ง"
🔬 กลยุทธ์แบบวิทยาศาสตร์: เริ่มที่สมมติฐาน แล้วลองมันจริง
Barthélemy เสนอ framework การคิดกลยุทธ์แบบวิทยาศาสตร์:
- เริ่มจากความรู้หรือ insight ที่มี
- ตั้ง "สมมติฐาน" (hypothesis)
- ทดสอบแบบ pilot หรือทดลองเล็ก
- เก็บข้อมูล → วิเคราะห์ → ปรับแผน
แนวทางนี้ตรงข้ามกับการวางแผนบน whiteboard แล้วกระโดดลงทุนทันที
☕ Starbucks: ตัวอย่างของการใช้ "กลยุทธ์เชิงทดลอง"
เรื่องที่น่าสนใจที่สุดคือเคสของ Howard Schultz กับ Starbucks
ระหว่างอยู่ที่อิตาลี เขาสังเกตว่า "คาเฟ่อิตาลี" แตกต่างจากร้านกาแฟในอเมริกาโดยสิ้นเชิง
เขาไม่ได้กลับมาวาดแผนธุรกิจใหญ่โต แต่เริ่มจากการ "ตั้งสมมติฐาน" เล็กๆ:
"ถ้าปรับอีกนิด คาเฟ่แบบอิตาลีน่าจะไปได้ในสหรัฐฯ"
เขาใช้เวลา "หลายปี" ทดลอง:
- ร้านแรกๆ เมนูเป็นอิตาเลียน
- เปิดเพลงโอเปร่า
- ไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง — เหมือนในอิตาลีจริงๆ
สุดท้าย?
สิ่งเหล่านี้ "ไม่เวิร์ค" กับอเมริกันชน
แต่ Schultz "เรียนรู้จากความผิด" และค่อยๆ ปรับ จน Starbucks กลายเป็นร้านที่ขายกาแฟผสมนมในบรรยากาศแบบ chain store สไตล์อเมริกัน — ไม่ใช่คาเฟ่อิตาลีดั้งเดิม
💡 บทเรียน: กลยุทธ์ที่ดี เริ่มจากการ "กล้าลองก่อนมั่นใจ"
"กลยุทธ์ที่ยังไม่ผ่านการทดสอบ = ความรู้สึกเท่านั้น" — Barthélemy
สิ่งที่ผู้เขียนบอกเราคือ:
- การสร้างกลยุทธ์ใหม่ จะทำให้คนไม่สบายใจเสมอ
- เพราะเรายังไม่รู้ว่ามันเวิร์คหรือไม่… จนกว่าเราจะลอง
- การทดลอง = ช่องทางสำคัญที่สุดในการได้ข้อมูลใหม่แบบที่คุณคิดไม่ถึง
🧭 บทสรุปสำหรับผู้นำ:
อย่ารอให้แผน "ชัวร์ 100%" แล้วค่อยเริ่ม เพราะสิ่งที่คุณรอ… มักจะไม่มีวันมาถึง
Barthélemy เชิญชวนให้เราวางกลยุทธ์แบบ นักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ นักพูดเก่ง หรือ นักวาดวิสัยทัศน์
กลยุทธ์ที่ดีวันนี้ไม่ใช่ต้องรู้ทุกอย่าง แต่ต้องกล้าลองอย่างมีระบบ
และที่สำคัญที่สุด… ต้องวัดผลให้ได้
ข้างบนอันนี้แค่หนึ่งบทเท่านั้นนะครับ ลองดูครับ เล่มนี้แนะนำ
อ่านแล้วมาแชร์กันว่า Myth ไหนคุณเคย 'เชื่อ' บ้าง